เจาะข้อสอบ Reading ของ TOEFL

Read to lead
Read a lot and wildly read
Read read and Read
โบราญว่า รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง หรือ
รู้เขารู้เรา รบพันครั้ง ชนะพันครั้ง
วลี เตรียมตัวดีมีชัยไปเกินครึ่ง สำหรับผมแล้ว การสอบข้อสอบแบบ Reading test ของ โทเฟิล มันช่างยากเย็นแสนเข็ญใจหรือจะบรรยาย เฉพาะอย่างยิ่งใครที่ไม่ค่อย จะ มีความสุขหรือ Happy ending หรือว่า enjoy reading a book มากๆ แล้วก็ บอกได้เลยว่า ปัญหาแน่นอน สำหรับใครที่นิ่งนอนใจ ใจเย็น หรือผัดวันประกันพรุ่งไปก่อน มาอ่านก่อนสอบสัก วัน 2 วัน หรืออาทิตย์ 2 อาทิตย์ก่อนสอบ ขอบอกว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยงเป็นอย่างยิ่งต่อการ re-test หรือสอบใหม่ ซึ่งผมคิดว่าคงไม่มีใครต้องการเป็นแน่ ด้วยเหตุผลหลักๆ สำหรับผมแล้ว ค่าสมัครสอบโทเฟิล มันก็โขเอาการพอสมควร สำหรับใครที่เคยสอบโทเฟิลเมื่อหลายปีก่อนมาแแล้ว สมัยที่อินเตอร์เน็ต ยังไม่ค่อยแพร่หลาย และความเร็วของอินเตอร์เน็ต ในการเชื่อมโยงและประมวลผลข้อมูลแบบ Real time ไม่สามารถทำได้เช่นปัจจุบันนี้ การสอบ Reading ของโทเฟิลแบบกระดาษหรือ Paper base test นับว่าง่ายและสบายตากว่าการอ่านบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันโขเลยครับ อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เพราะว่าหลักๆ คือ เราคุ้นเคยกับการเปิดอ่านหนังสือมากกว่าจำลองไว้บนคอมพิวเตอร์ การพลิกกลับไปมาเพื่ออ่านทบทวนหรืออ้างอิงทำได้ง่ายกว่า เร็วกว่า และ ไม่ปวดลูกตามากกว่่าการอ่านบนคอมพิวเตอร์ครับ แต่เมื่อความก้านหน้าทางการสื่อสาร คอมพิวเตอรืและอินเตอร์เน็ต เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบโทเฟิล มันก็คงมีทั้งดีและไม่ดีแตกต่างกันไป สำหรับเราๆ ที่เป็นผู้เข้ารับการทดสอบแล้ว ก็คงบ่นอะไรมากไม่ได้ นอกจากเตรียมตัว เตรียมใจรับความเปลี่ยนแปลง และฝึกฝนสร้างความคุ้นเคยกับการฝึกทำข้อสอบบนคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น บ่อยขึ้น จนเคยชินและไม่รู้สึกตะขิดตะขวางใจในการทดสอบต่อไปน่าจะดีกว่านะครับ
จากประสบการณ์ตรงของผมในการสอบโทเฟิลล่าสุดที่ผ่านมา ก็พอจะมีคำแนะนำหรือ Tips เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ Reading Test ของโทเฟิลมาแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจทราบ เพื่อเตรียมตัวในการสอบพอสังเขป ดังนี้ครับ
การสอบอ่าน เป็นการวัดความสามารถ และความเข้าใจของผู้เข้ารับการทดสอบ เกี่ยวกับเนื้อหาทางวิชาการในระดับที่มีการเรียนและบรรยายในวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ทั่วไปของอังกฤษ อเมริกา และทั่วโลก โดยคาดหวังว่าผู้เข้ารับการทดสอบจะสามารถศึกษาและเข้าใจเนื้อหาและบริบทของบทความหรือตำราวิชาการดังกล่าว ซึ่งเขียนด้วยภาษาอังกฤษ โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ 3 ประการคือ
  • การอ่านเพื่อหาข้อมูลหรือ Reading to find information
สำหรับการอ่านแบบมีจะใช้เทคนิคที่เรียกว่าการอ่านแบบ Scan เพื่อหาข้อมูลที่ต้องการทราบ ซึ่งจำเป็นที่เราต้องมีการฝึกอ่านแบบ Effective scan อย่างต่อเนื่องและเพียงพอ แนะนำหนังสือตำราวิชาการ เช่น หนังสือพิมพ์ Student weekly,Bangkok post และตำราทางวิชาการอื่นๆ ที่มาพร้อมแบบฝึกทดสอบคำศัพท์ หรือการอ่าน
ต้องมีการฝึกอ่านเพื่อเพิ่มความเร็วและความคล่อง เพราะว่าในการสอบโทเฟิลจะให้เวลาจำกัดต่อเนื้อหาน้อยมาก จำเป็นที่เราต้องฝึกทำงานแข่งกับเวลา เพื่อหาคำตอบที่ต้องการ
  • การอ่านเพื่อความเข้าใจ หรือ Basic comprehension
นอกจากการอ่านแบบ scan เพื่อหาคำตอบเฉพาะที่ต้องการแล้ว การอ่านยังวัดความสามารถของเราในเรื่องของความเข้าใจพื้นฐานสำคัญของเนื้อหาด้วย โดยเราจะต้องเข้าใจในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้
หัวข้อ Topic ของเรื่อง หรือแนวคิด General idea ของเนื้อว่า ซึ่งบางครั้งมันก็ชัดเจน แต่บางทีมันก็ไม่ค่อยชัดเจน
เข้าใจว่า Main idea หรือแนวคิดหลักๆ ของเรื่องคืออะไร
เข้าใจประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง และรายละเอียด ในเวลาที่จำกัดมากๆ
เข้าใจคำศัพท์หรือ Vocabulary ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในการเรียนการสอนทางวิชาการ จำเป็นที่เราต้องศึกษาที่มาของคำ รากศัพท์ คำปัจจัย Roots ,prefix and suffixes
  • การอ้างอิงหรือ Reference ข้อมูล
ความสามารถในการสรุป Conclusion หรือเชื่อมโยงบริบทต่างๆ เข้าด้วยกัน
ทั้งหมดที่กล่าวมา หากเราไม่ได้เติบโต เรียนรู้ศึกษาต่อเนื่องมายาวนานในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แล้วละก็ ก็ย่อมจำเป็นที่เราต้องเสียสละเวลา และแรงจูงใจจำนวนมหาศาล ในการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อที่จะสามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ที่เขาต้องการนั้นเอง บางคนอาจจะ 1-2 ปี หรือ บางคนอาจจะ 5-10 ปี ก็ย่อมแตกต่างกันไปตามพื้นฐานการศึกษาและเรียนรู้ของแต่ละท่าน
  • สุดท้ายเป็นการอ่านแบบเรียนรู้หรือ Reading to learn ฟังดูดีมากเลยนะครับข้อนี้
ต้องเข้าใจรูปแบบโครงสร้างและวัตถุประสงค์ของการเขียนเนื้อหานั้นๆ
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดหรือ main idea ภายในบทความนั้นๆ
สามารถจัดข้อมูลเข้ากลุ่ม/พวก เพื่อแยกแยะ อ้างอิงการใช้งานหรือเชื่อมโยงความสัมพันธ์
สามารถบอกได้ถึงวิธีการเชื่อมโยงแนวคิดเข้าด้วยกัน

สรุปว่า การสอบอ่านของโทเฟิลต้องการการเตรียมตัวที่พร้อมและต่อเนื่องของเรามากพอสมควรจึงจะสามารถผ่านวัตถุประสงค์ข้างบนดังกล่าวไปได้ครับ หวังว่าพอจะมีประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษาและเตรียมตัวสอบโทเฟิลบ้างตามสมควรครับ
Thank you a lot for reading and visiting krabb!!

Comments